มารู้จักการปลูกมะพร้าวน้ำตาล อาชีพดั้งเดิมของชาวอัมพวา

การปลูกมะพร้าวน้ำตาล เป็นอีกหนึ่งอาชีพที่ชาวอัมพวา จังหวัดสมุทรสงคราม ที่ได้ยึดถือและเป็นอาชีพหลักในการดำรงชีวิต จุดเด่นที่ผู้คน และนักท่องเที่ยวจะได้เห็นภาพชัดเจนก็คือ สวนมะพร้าวน้ำตาล ซึ่งภายในสวนมะพร้าวน้ำตาลจะมีการยกร่องเพื่อปลูกเป็นสวนบรรยากาศร่มรื่น มีร่องน้ำสำหรับเรือลำเล็กไว้คอยล่องเข้าไปเพื่อเก็บเกี่ยวผลผลิตออกมา และนำมาแปรรูปประกอบอาหาร เรียกว่า “น้ำตาลมะพร้าว” อาชีพนี้เองเป็นอาชีพที่อยู่คู่กับชาวอัมพวา และหล่อหลอมรวมกันเป็นหนึ่งเดียว สร้างรายได้และความมั่นคลในชีวิตอย่างยาวนาน และเป็นจุดขายที่ทำรายได้ให้แก่ชุมชนอย่างมหาศาล

โดยเกษตรกรชาวอัมพวา จะมีการทำสวนโดยแบ่งออกเป็น 2 รอบ คือ ช่วงเช้าตรู่ ก่อนพระอาทิตย์จะขึ้น และช่วงบ่ายแก่ๆ ที่แสงแดดจะลดความร้อนแรง ชาวสวนจะทำการปีนต้นมะพร้าว โดยใช้พะอง ซึ่งเป็นไม่ไผ่ที่มีความยาวขึ้นไปยังคอของต้นมะพร้าว ปาดช่อดอก หรือเรียกว่าการปาดงวง และรองรับน้ำมะพร้าวน้ำตาลด้วย กระบอกอะลูมิเนียม หรือทำจากพลาสติก ที่ใส่ไม้ฝาดเช่น พะยอม หรือตะเคียน ไว้ภายในเพื่อป้องกันการบูด เมื่อเสร็จแล้วจะนำถุงพลาสติกครอบคลุมส่วนที่ปาดไว้เพื่อป้องกันไม่ให้แมลงมาดูดน้ำหวานออกไป

จากนั้นเมื่อได้น้ำมะพร้าวสดๆ จะมีการนำไปเคี่ยวด้วยเตาที่เป็นเอกลักษณ์ของชุมชนโดยจะใช้การเผาให้ความร้อนจากฟืนเท่านั้น เพราะจะทำให้มีควันน้อย และได้ความร้อนที่แตกต่างกัน โดยจะมี “โค” เป็นอุปกรณ์จักสานเหมือนตะกร้ามาครอบไว้เพื่อกรองฟองจากการเดือดล้นกระจายออกจากเตา
เมื่อเดือดได้ที่จะก็นำขึ้นมาตีไล่ฟองอากาศออก โดยใช้ “ไม้วี” เพื่อให้เข้มข้น และความเหนียวเมื่อเริ่มจับตัวได้จะได้นำมาใส่ในพิมพ์จนเป็นน้ำตาลมะพร้าว และนำออกจำหน่าย เป็นน้ำตาลปี๊บ น้ำตาลปึก หรือน้ำตาลหม้อ ซึ่งเอกลักษณ์จะเหมือนกันคือความ “หวานมัน” เป็นสินค้าเลื่องชื่อของชาวอัมพวา

หากใครที่กำลังมองหาน้ำตาลมะพร้าวแท้ๆ แบบดั้งเดิม ก็สามารถมาซื้อกันได้ที่ถิ่นอัมพวานี้นะคะ หรือหากใครที่มีความสนใจมาดูกระบวนการผลิตน้ำตาลมะพร้าวแบบดั้งเดิม ก็สามารถติดต่อได้เจ้าหน้าที่โครงการอัมพวาชัยพัฒนานุรักษ์ได้เช่นกันค่ะ นอกจากนี้ แวะมาเที่ยวอัมพวากันแล้ว ก็อย่าลืมแวะมาพักผ่อนที่บ้านทิพย์สวนทองกันด้วยนะคะ

ชมรายละเอียดเพิ่มเติมเกี่ยวกับบ้านทิพย์สวนทอง คลิก www.baantip.com และ LINE @Baantip หรือ โทร. 096-346-9496 , 092-252-5160

ขอขอบคุณข้อมูลดีๆ จาก คุณ พรไพริน หวอแม่กลอง กล่ำมณี. พี่จุกสวนหลวง